โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 59 – นิสัยกินที่ดีต่อสุขภาพ (1)

ตัวอย่างเช่น, การบริโภคโดยเฉลี่ย (Average intake) ของผู้ใหญ่ (Adult) ทั่วไป ในส่วนของผลไม้, ผัก, นม (Dairy), และธัญพืชเต็มเม็ด (Whole grain) อยู่ต่ำกว่าคำแนะนำมาก (Recommendation) ในขณะที่ประมาณ 60% ของผู้ใหญ่บริโภคน้ำตาลมากเกินไป, 70% บริโภคไขมันมากเกินไป, และเกือบทั้งหมดของผู้ชายและ 80% ของผู้หญิงบริโภคเกลือ (Sodium) มากเกินไป

หากนำมาเปรียบเทียบกับการให้คะแนนที่ได้จากการรับประทานอาหาร ผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า (Young adult) จะได้เกรด F (56 คะแนน จาก 100) และผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า (Older adult) จะได้เกรด D (63 คะแนน จาก 100) ตามลำดับ ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ (Prior) การรับประทานแคลอรี (Calorie intake) ทั้งหมดเพิ่มขึ้น และขนาดส่วน (Portion size) เพียงอย่างเดียว ที่บริการในร้านอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (Double) หรือ 3 เท่า (Tripple) ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

สิ่งนี้ช่วยอธิบายความก้าวหน้า (Advance) อย่างรวดเร็ว (Break-neck speed) ของการแพทย์ในครึ่งหลัง (Latter half) ของศตวรรษที่ 20 และต่อเนื่องถึงต้นศตวรรษที่ 21 ในด้านการวินิจฉัยเบื้องต้น (Early diagnosis), การดูแลเพื่อป้องกัน (Preventive care), เภสัชวิทยา (Pharmacology), และการพัฒนายา (Medication development)

นอกจากนี้ การเข้ามาแทรกแซง (Intervention) เพื่อช่วยชีวิต (Life-saving) ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมองและอัมพาต (Stroke), หัวใจล้ม (Heart attack), และการก้าวหน้าในการดูแลโรคมะเร็ง และถึงแม้ว่ามีการลดลงในนิสัยที่เป็นอันตราย (Toxic habit) ของการสูบบุหรี่ ภาวะเรื้อรัง (Chronic condition) ก็ยังไม่ได้ลดลงอย่างฮวบฮาบ (Robust) ตามที่คาดหวัง

ในคริสตทศวรรษ 1960s อัตราส่วนของคนที่มีโรคความดันโลหิตสูง (Hyper-tension) เป็น 30% และคงความไม่เปลี่ยนแปลงมาก ณ 29% ในปี ค.ศ. 2002 พร้อมกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในช่วงกลาง (Mid) คริสตทศวรรษ 2010 อัตราการอ้วน (Obesity rate) ตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ได้ทะลุขึ้นสูง (Soar) เช่นเดียวกับอัตราการเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes)

เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานในปี ค.ศ. 1958 คือ 0.93% เพิ่มขึ้นไปถึง 7.4% ในปี ค.ศ. 2015 นับเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบ 800% ในทุกกรณี อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่ปรับตามอายุ (Age-adjusted) เพิ่มขึ้น 30% ในปี ค.ศ. 2018 เมื่อเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. 1900

ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2018 จากโรคติดเชื้อ (Infectious) เช่นไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และปอดบวม (Pneumonia) ลดลง 95% จากที่เคยเป็นในปี ค.ศ. 1900 เนื่องจากความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ของความก้าวหน้าทางการแพทย์ แต่อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจลดลงเพียง 38% เท่านั้น

ข้อมูลนี้แสดงถึงผลกระทบที่บรรเทา (Mitigating effect) ของนิสัยการกินอาหารและกิจกรรม จากศักยภาพ (Potential) ของประโยชน์ที่ได้จากความก้าวหน้าทางการแพทย์ การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและขาดการออกำลังกาย (Physical inactivity) เป็น "สาเหตุที่แท้จริง" (Actual cause) ที่นำไปสู่การคร่าชีวิต (Killing) ประมาณ 400,000 คน ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2010

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.